โรงเรียนพระแม่มารีอุบลราชธานี

โรงเรียนพระแม่มารีอุบลราชธานี


โรงเรียนอนุบาลบ้านดรุณ อยุธยา

โรงเรียนอนุบาลบ้านดรุณ วังน้อย จังหวัดอยุธยา

 


 

โรงเรียนอนุบาลบ้านดรุณ  ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 128 หมู่ 8  ตำบลลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทำการเรียนการสอนในระดับเนอสเซอรี่ - อนุบาลศึกษาปีที่ 3 เป็นโรงเรียนในสังกัดคณะภคินีพระราชินีมาเรีย

ผู้อำนวยการ โรงเรียนอนุบาลบ้านดรุณ : ซิสเตอร์รุ่งนภา สันติศิรินิรันดร์


ประวัติโรงเรียนอนุบาลบ้านดรุณ
โรงเรียนอนุบาลบ้านดรุณ ตั้งอยู่ที่ บ้านเลขที่ 124  หมู่ 8  ถนน โรจนะ  ตำบลลำตาเสา อำเภอวังน้อย  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  13170   ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30  ธันวาคม  2547  บนเนื้อที่ 2 ไร่  49 ตารางวา   โดยนางสาวยุพิน  เตียวิเศษ เป็นผู้ริเริ่ม สร้างอาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็ก 1 หลัง  และนางสาวยุพิน  เตียวิเศษ เป็นครูใหญ่  ผู้จัดกา รและผู้รับใบอนุญาต 
คนแรก   เปิดทำการสอนในระดับชั้น อนุบาลปีที่ 1-  3    ห้องเรียน  ขนาด ๗ x ๙  เมตร จำนวน  4  ห้องเรียน  มีห้องน้ำในตัว  ความจุนักเรียนได้ 160 คน   ต่อมาเมื่อวันที่ 21  มิถุนายน 2550 ได้ขอเปิดชั้นเรียนเตรียมอนุบาล สำหรับรับนักเรียน อายุ 2 ขวบและได้รับอนุมัติตามใบอนุญาตเลขที่ 205/2550 ให้เปิดสอนในระดับชั้นเตรียมอนุบาลได้ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 เป็นต้นไป  
เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม  2555 นางสาวยุพิน เตียวิเศษ  ได้ขอโอนและรับโอนโรงเรียนอนุบาลบ้านดรุณให้แก่  มูลนิธิดรุณพัฒน์   ๒/๑  ซอยสาธุประดิษฐ์ ๓๔  ถนนสาธุประดิษฐ์  แขวงบางโพงพาง  เขตยานนาวา  กรุงเทพมหานคร และได้มอบให้ ซิสเตอร์ปราณี   กำพุฒ เป็นผู้รับใบอนุญาต(ลงนามแทน)  ตามใบอนุญาตที่ ศธ ๐๔๐๙๓/2077 ขออนุญาตขอโอนและขอรับโอนโรงเรียนเอกชนในระบบตามหนังสืออนุญาตให้โรงเรียน(สช๑๖)เลขที่ ๑ /๒๕๕๕  และซิสเตอร์ปราณี  กำพุฒ  ผู้รับใบอนุญาต(ลงนามแทน) ได้แต่งตั้งให้ซิสเตอร์พิกุล  กิจประยูร  เป็นผู้จัดการ และซิสเตอร์รุ่งนภา  สันติศิรินิรันดร์ เป็นผู้อำนวยการ มีผลตั้งแต่ วันที่ ๑  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป 
ต่อมาเมื่อเมื่อวันที่ ๒๘  กันยายน ๒๕๕๕ ซิสเตอร์ปราณี  กำพุฒ ผู้รับใบอนุญาต(ลงนามแทน) ขออนุญาตเปลี่ยนแปลงเพิ่มจำนวนห้องเรียน 2 ห้อง ขนาด ๗ x ๙  เมตร และมีห้องน้ำในตัวห้องละ 3 ที่ ตามใบอนุญาตเลขที่ ๒๓/๒๕๕๕ และขอเปลี่ยนแปลงรายการในตราสารจัดตั้งนิติบุคคลโรงเรียนอนุบาลบ้านดรุณ ในหมวดที่ ๑ ข้อ ๔ และหมวดที่ ๓ ข้อ ๖.๒.๑ เพิ่มจำนวนห้องเรียนจากเดิม  ๔ ห้อง เป็น ห้องเรียน ๖  ห้อง ขนาด ๗ x ๙  เมตร  รวมความจุทั้งโรงเรียน  ๒๔๐ คน  ตั้งแต่ภาคเรียนที่ ๒  ปีการศึกษา ๒๕๕๕  เป็นต้นไป ตามใบอนุญาตเลขที่ ๒๔/๒๕๕๕

ต่อมาเดือนสิงหาคม  2555  มูลนิธิดรุณพัฒน์ ได้อนุมัติการสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสำหรับนักเรียนชั้นเตรียมอนุบาล ๑  หลัง ขนาด ๘ x๑๐ เมตร  โรงยิม(สนามเด็ก)เล่น 1 หลัง ขนาด 8 x 1 8 เมตร และโรงอาหาร 1 หลัง  ขนาด 6 x 20 เมตร และห้องน้ำ-ห้องส้วม สำหรับบริการผู้ปกครอง อย่างละ 2 ห้อง และเปิดใช้อย่างเป็นทางการ ในเดือน พฤษภาคม ปี 2556   รวมถึงโรงเรียนได้เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาและการพัฒนาสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558  จึงได้อนุมัติสร้างห้องคอมพิวเตอร์สำหรับบริการครูและนักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าเพื่อให้ทันต่อยุคสมัยโลกาภิวัตน์   อีกทั้งโรงเรียนจัดซื้อคอมพิวเตอร์สำหรับห้องเรียนทุกห้อง ห้องละ  1  เครื่อง รวม 7 เครื่อง เพื่อให้ครูใช้เป็นสื่อในการสอนนักเรียน  และห้องธุรการจำนวน  2 เครื่อง   และจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับห้อง  IT (Information  Technology)   จำนวน   14   เครื่อง   ปัจจุบันโรงเรียนอนุบาลบ้านดรุณ  มีนักเรียนจำนวน    203   คน    ครูและครูพี่เลี้ยงจำนวน  11  คน

คลิดดูเว็ปไซต์โรงเรียนที่นี่

ร.ร.พระแม่มารีพระโขนง

 

ร.ร.พระแม่มารีพระโขนง

สถานที่ตั้ง : เลขที่ 26  ถนนสุขุมวิท 67 

แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา

กรุงเทพฯ 10110

โทรศัพท์ : 02-392-9572, 02-714-0719

โทรสาร : 02-714-0720


 

ประวัติโรงเรียนพระแม่มารีพระโขนง


โรงเรียนพระแม่มารีพระโขนงเป็นโรงเรียนในเครือพระแม่มารี บริหารงานโดยคณะภคินีพระราชินีมาเรีย (พระแม่มารีนักบวช) เป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน  กระทรวงศึกษาธิการ

คุณพ่อการ์โล  เดลลา  โตร์ พระสงฆ์คณะซาเลเซียน เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนขึ้นเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2495  ตามใบอนุญาตเลขที่ 440/2495  เมื่อเริ่มก่อตั้งให้ชื่อโรงเรียนว่า “ธิดาพิทยาคม” ใช้อักษรย่อว่า “ธพ” ได้รับอนุญาตให้ทำการสอนได้ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3  ตามใบอนุญาตเลขที่ 14/2495 เป็นโรงเรียนประเภทมัธยมวิสามัญศึกษา ดำเนินการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีนายชัช  นาคะทัต เป็นผู้ลงนามเป็นผู้รับใบอนุญาต และนางสาวอรวรรณ  จิตอำไพ เป็นผู้จัดการและครูใหญ่ อาคารที่ใช้ประประกอบการเป็นเรือนไม้ 2 ชั้น 1 หลัง

พ.ศ. 2499 เปลี่ยนแปลงผู้รับใบอนุญาตจากนายชัช   นาคะทัต เป็นนางสาวมณฑา  ระดมกิจ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499  และเปลี่ยนครูใหญ่จากนางสาวอรวรรณ  จิตอำไพ  เป็นนายวิโรจน์   กิจบุญชู เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 ในปลายปี พ.ศ. 2499  ได้ขอเปลี่ยนแปลงในอนุญาตทำการสอนจากเดิมซึ่งได้รับอนุญาตให้สอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มาเป็นแค่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามใบอนุญาตเลขที่ 7/2499  ลงวันที 15 ธันวาคม  พ.ศ. 2499

พ.ศ. 2504 ได้ขยายชั้นเรียนเพิ่มขึ้นปีละชั้น เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ โดยเปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในปีพ.ศ. 2504  ตามใบอนุญาตเลขที่403/2504  เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในปีพ.ศ. 2505 ตามใบอนุญาตเลขที่ 574/2505 และเปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 ตามใบอนุญาตเลขที่ 533/2506  นอกนั้นยังได้รับอนุญาตให้สอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนได้ด้วยตามใบอนุญาตเลขที่ 718/2504  ลงวันที่ 26 กรกฎาคม  พ.ศ. 2504

พ.ศ. 2505 กรมวิสามัญได้อนุมัติแบบแปลนก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ ตามใบอนุญาตเลขที่ 4066/2505  ในปีเดียวกันได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนจาก “ธิดาพิทยาคม” เป็น “พระแม่มารีพระโขนง” ตามใบอนุญาตเลขที่ 364/2505  ใช้อักษรย่อว่า “พ.ม.ข.”

พ.ศ. 2508  อาคารคอนกรีตหลังแรกแล้วเสร็จ เปิดใช้เมื่อ 12 สิงหาคม  พ.ศ. 2508  ได้รับอนุญาตให้รับนักเรียนได้ไม่เกิน 620 คน

พ.ศ. เปลี่ยนแปลงผู้รับใบอนุญาตจากนางสาวมณฑา  ระดมกิจ เป็นนางสาวโสภา  วีระศิลป์

พ.ศ. 2513 กระทรวงศึกษาได้อนุมัติแบบแปลนสร้างอาคารเรียนคอนกรีต 2 ชั้นอีก 1 หลัง

พ.ศ. 2515  เปิดใช้อาคารคอนกรีตหลังที่ 2 ซึ่งทำให้ปีนี้มีจำนวนห้องเรียน 21 ห้อง บนอาคารเรียน 2 หลัง ไดรับอนุญาตให้รับนักเรียนได้ไม่เกิน 845 คน

พ.ศ. 2521  เปิดสอนในระดับอนุบาล1 – 2 ตามใบอนุญาตเลขที่ 697/2521

พ.ศ. 2525 ผู้รับใบอนุญาตได้โอนกิจการโรงเรียนให้กับมิสซังโรมันคาทอลิดกรุงเทพฯ โดยให้นางสาวมณี  กาญจนานุรักษ์ เป็นผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต

พ.ศ. 2527 ได้ก่อสร้างอาคารคอนกรีต 3 ชั้น (อาคารดอนบอสโก) ใช้เป็นอาคารประกอบ  ปีนี้มีห้องเรียนทั้งหมด 22 ห้อง รับนักเรียนได้สูงสุดไม่เกิน 950 คน

พ.ศ. 2531  ขออนุญาตใช้ห้องที่อาคารดอนบอสโกเป็นห้องเรียนประถมศึกษาจำนวน 3 ห้องเรียน รวมเป็นห้องเรียนทั้งหมด 24 ห้องเรียน อัตราความจุนักเรียนสูงสุด 1,080 คน และในปีนี้ได้ขอเปลี่ยนแปลงการสอนระดับอนุบาลจาก 2 ปี เป็น 3 ปีคือ อนุบาล 1 – 3

พ.ศ. 2536 สร้างอาคาร 3 ชั้น 1 หลัง โดยมีพิธีเสก – เปิดใช้อาคารเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2536

พ.ศ. 2537 เปลี่ยนแปลงผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาตจากนางสาวมณี  กาญจนานุรักษ์ เป็นนางสาวสุปราณี   ระงับพิศฆ์  ปีเดียวกันได้ขอรื้ออาคาร 2 ชั้น เพื่อสร้างอาคารหลังใหม่

พ.ศ. 2538  ได้รับอนุญาตให้ใช้อาคารเรียน 5 ชั้น (อาคารมารีนิรมล) เป็นห้องเรียนจำนวน 24 ห้องเรียน ทำให้ปีนี้มีห้องเรียนรวม 30 ห้องอีกทั้งมีห้องประกอบการศึกษาอื่นๆ ได้แก่ ห้องคอมพิวเตอร์  ห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องโสตทัศนศึกษา ห้องดนตรีไทย  ห้องศูนย์วิชาการ  ห้องสมุด ห้องทดลองวิทยาศาสตร์และได้ใช้อาคารเหล่านี้จนถึงปัจจุบัน


ปัจจุบัน โรงเรียนพระแม่มารีพระโขนง  เป็นโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา เปิดสอนตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  เป็นโรงเรียนในสภาการศึกษาคาทอลิก  บริหารงานโดยคณะนักบวชหญิงคาทอลิก

 

ผู้อำนวยการ ร.ร.พระแม่มารีพระโขนง : ซิสเตอร์อัญชลี  กีสี


ปรัชญาของโรงเรียน :   ความรู้  คู่  คุณธรรม

ความหมายของปรัชญา : ความรู้ หมายถึง   การมีความรู้ด้านวิชาการ วิชาชีพและและดำรงชีวิตสามารถนำความรู้ไปใช้พัฒนาตนเองและสังคมให้มีความสุขความเจริญ

คุณธรรม หมายถึง  การดำเนินชีวิตโดยใช้หลักคุณธรรม จริยธรรมเป็นแนวทาง

วิสัยทัศน์ :   โรงเรียน จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ได้  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  มีความสามารถในการแก้ปัญหา  และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้  ผู้เรียนมีพัฒนาการทุกด้านที่เหมาะสมกับวัย  มีคุณธรรม จริยธรรมอันจะนำไปสู่การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข

คำขวัญของโรงเรียน


รู้หน้าที่  มีจรรยา  รักษาวินัย

 

คติพจน์ของโรงเรียน


คุณธรรมเด่น  เน้นการศึกษา  พัฒนาสังคม

 

ตราประจำโรงเรียน

เป็นเครื่องหมายกางเขนและมีรัศมีโดยรอบใต้เครื่องหมายกางเขน ตรงกลางเป็นตัวอักษร ย่อของโรงเรียน (พ.ม.ข.) อยู่ในวงกลม

You need to a flashplayer enabled browser to view this YouTube video

ร.ร.พระแม่มารีประจวบคีรีขันธ์

ร.ร.พระแม่มารีประจวบคีรีขันธ์

สถานที่ตั้ง : เลขที่ 74 ถ.ประจวบคีรีขันธ์

อ.เมืองประจวบฯ จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77000

โทรศัพท์ : 032-551102

โทรสาร : 032-601321

 

 

 

ประวัติโรงเรียนพระแม่มารีประจวบคีรีขันธ์


โรงเรียนพระแม่มารีประจวบคีรีขันธ์ เดิมเป็นโรงเรียนเสนาะวิทยา มีนายเสนาะ สัตย์สงวน เป็นผู้รับใบอนุญาต มีนางสาวบุญสม  อ้อยจีน เป็นครูใหญ่    ต่อมาเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2528          นายเสนาะ สัตย์สงวน ได้โอนกิจการโรงเรียนให้โรงเรียนในเครือพระแม่มารี เมื่อวันที่1 เมษายน พ.ศ.2528 และได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนพระแม่มารีประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2528เป็นต้นมา

โรงเรียนพระแม่มารีประจวบคีรีขันธ์ มีเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่   อยู่ในเขตเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์  ตั้งอยู่เลขที่  134  ถนนประจวบคีรีขันธ์ ตำบลประจวบคีรีขันธ์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  เป็นโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน  ประเภทสามัญศึกษา  สอนวิชาสามัญ  เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 3

.ศ.2528 ได้รับอนุญาตให้รับนักเรียนได้ไม่เกิน  565  คน  โดยมีนางสาวบำรุง กิจสำเร็จ  เป็นผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการ  และนางสาวบุญสม  อ้อยจีน  เป็นครูใหญ่ มีนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 324 คน

พ.ศ.2529 มีการปรับปรุงและต่อเติมอาคารสถานที่  จากอาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว  เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสองชั้น  (ตึกไม้)  จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนเพิ่มเติมและขยายห้องเรียนเพิ่มจาก 11 ห้องเรียนเป็น 13 ห้องเรียน  มีนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 421 คน

พ.ศ.2530 ได้ก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่มขึ้น 1 หลัง  เป็นอาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น  จำนวน 3 ห้องเรียน  ชั้นล่างโล่ง  มีนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 521 คน  ขออนุญาตขยายห้องเรียนเพิ่มขึ้น  จากเดิม 13 ห้อง  เพิ่มขึ้นเป็น 15 ห้องเรียน

พ.ศ.2531 มีการปรับปรุงอาคารเรียน  เนื่องจากไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้น  และได้ขยายการเรียนการสอนระดับอนุบาล  จากหลักสูตร 2 ปี  เป็นหลักสูตร 3 ปี มีนักเรียนทั้งสิ้น 538 คน

.ศ.2532 ขออนุญาตเพิ่มความจุนักเรียนจากไม่เกิน 656 คน  เพิ่มเป็นไม่เกิน 875 คน  และได้ขออนุญาตเพิ่มห้องเรียน เป็น 19 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งสิ้น  691 คน

พ.ศ.2533 ขออนุญาตเพิ่มจำนวนห้องเรียน   เป็น 21 ห้องเรียนมีนักเรียนทั้งสิ้น 762 คน

พ.ศ.2534 จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 6 เครื่อง  ปรับปรุงและต่อเติมชั้นล่างของอาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น   เพื่อเป็นห้องสมุดและห้องเรียน  ได้ขออนุญาตเพิ่มห้องเรียน เป็น 24 ห้อง  เนื่องจากมีนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 874 คน

พ.ศ.2535 มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารโรงเรียน โดย นางสาวสุมณฑา  ปั้วเฮงทรัพย์ เป็นผู้ทำการแทนผู้รับใบอนุญาต  และครูใหญ่  จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์  จำนวน 30 เครื่อง  เพื่อเปิดทำการสอนให้กับนักเรียน ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – มัธยมศึกษาปีที่ 3  เป็นปีแรก ในปีนี้ได้มีการก่อสร้างอาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็กสองชั้นเพิ่มขึ้น 1 หลัง  ได้ขออนุญาตเพิ่มความจุนักเรียนได้ไม่เกิน 1,100 คน และขออนุญาตเพิ่มห้องเรียน เป็น 26 ห้องเรียน  มีนักเรียนทั้งหมด 940 คน

.ศ.2536 มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารมี นางสาวบำรุง  กิจสำเร็จ เป็นผู้รับใบอนุญาต  และผู้จัดการ     และ นางสาวทิชารัตน์  ศรีมณี เป็นครูใหญ่    มีการปรับปรุงต่อเติมอาคารเอนกประสงค์ (โรงอาหาร) และขออนุญาตใช้ห้องเรียนเพิ่มขึ้น  เป็น 29 ห้องเรียนมีนักเรียนทั้งสิ้น 1,013 คน

พ.ศ.2537 เปลี่ยนแปลงผู้รับใบอนุญาตเป็น นางสาวพานี  นิลเพชร มีนักเรียนทั้งสิ้น 1,041 คน

พ.ศ.2538 ได้ขออนุญาตรื้อถอนอาคารเรียน  2 หลัง  คือ  อาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น และอาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว   ซึ่งเป็นอาคารเรียนหลังเก่าที่รับโอนจากโรงเรียนเสนาะวิทยาและได้ขออนุญาตสร้างอาคารเรียนคอนกรีตเหล็ก 4 ชั้น จำนวน 1 หลัง มีนักเรียนทั้งสิ้น 979 คน

.ศ. 2539 ได้ขออนุญาตใช้อาคารเรียน 4 ชั้น เพื่อใช้เป็นห้องเรียนและห้องประกอบการสอนต่างๆ มีนักเรียนทั้งหมด 1,018 คน  ครู 45 คน นักการ 9 คน

พ.ศ.2540 มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารโรงเรียน โดยมี นางสาวพานี  นิลเพชร เป็นผู้ทำการแทนผู้รับใบอนุญาต และครูใหญ่ และ  นางสาวเบญจมาศ  โสภาราษฎร์ เป็นผู้จัดการ มีการขยายห้องเรียนคอมพิวเตอร์  เพิ่มเป็น 2 ห้อง  และจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เพิ่ม จำนวน 30 เครื่อง  มีนักเรียน 972 คน

พ.ศ.2541 มีห้องเรียนทั้งหมด 30 ห้องเรียน นักเรียน 993 คน ครู 45 คน นักการภารโรง 10 คน

พ.ศ.2542 มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารโรงเรียนดังนี้ โดยมี  นางสาวพิกุล  กิจประยูร เป็นผู้จัดการ มีห้องเรียน 28 ห้อง นักเรียน 940 คน  ครู 46 คน  นักการภารโรง 13 คน

.ศ.2543 เปลี่ยนแปลงผู้บริหารโดยมี นางสาวพิกุล  กิจประยูร เป็นผู้ทำการแทนผู้รับใบอนุญาต  นางสาวศรีจริน   สิมมาลี เป็นครูใหญ่ ปรับปรุงรื้อถอนและก่อสร้างอาคารสถานที่ (โรงอาหาร) คอนกรีตเสริมเหล็ก 1 ชั้นมีห้องเรียน 26 ห้องเรียน นักเรียน 853 คน ครู 47 คน นักการ 13  คน

พ.ศ. 2544 มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารโดย นางสาวอุดมลักษณ์  พุฒตาลศรี เป็นผู้ทำการแทนผู้รับใบอนุญาต มีห้องเรียน 23 ห้องเรียน   นักเรียน 771 คน ครู 45 คน นักการ 13 คน

พ.ศ. 2545 มีห้องเรียน  24 ห้องเรียน   นักเรียน 799 คน ครู 43 คน นักการภารโรง 13 คน

.ศ.2546 มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร โดยมี นางสาวจันทร์สม  กิจบำรุง เป็นอธิการ และ นางสาวสุวลี   รังษีสุกานนท์ เป็นผู้ทำการแทนผู้รับใบอนุญาต  ผู้จัดการ และครูใหญ่  มีห้องเรียนทั้งหมด  25  ห้อง นักเรียน 831 คน ครู 41 คน และนักการ 13 คน มีการซ่อมแซม ปรับปรุง พัฒนาอาคารสถานที่  ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ  ห้องผู้รับใบอนุญาต และห้องครูใหญ่  ปรับปรุง และปูพื้นห้องประชุม  ทาสีอาคารไม้ 2 ชั้น จำนวน 3 หลัง ซึ่งเป็นห้องเรียนและห้องประกอบการ ซ่อมแซม สร้างรั้ว และป้ายโรงเรียนด้านหน้าใหม่  และปูพื้นสนาม (ตัวหนอนบริเวณสนามหน้าเสาธง) สร้างศาลาที่พัก สำหรับผู้ปกครอง

.ศ. 2547 ได้ดำเนินการซ่อมแซม ปรับปรุง และพัฒนาโรงเรียนดังนี้ 1 เมษายน 2547 ปูพื้นตัวหนอนบริเวณสนาม และลานจอดรถของโรงเรียนทั้งหมด….18 เมษายน 2547 ปรับปรุง และขยายห้องคอมพิวเตอร์ เป็น 2 ห้อง จัดซื้อคอมพิวเตอร์เพิ่ม จำนวน 10 เครื่อง …21 พฤษภาคม 2547 รื้ออาคารห้องพัก และเริ่มก่อสร้างอาคารบ้านพักผู้บริหาร ศูนย์การเรียนอนุบาล และเนอสเซอรี่  ปีนี้มีนักเรียน 889 คน ครู 41 คน นักการ 14 คน

.ศ. 2548 ดำเนินการปรับปรุงปูกระเบื้องฐานเสาธงใหม่   ย้ายห้องรับเลี้ยงเด็กเนอสเซอรี่ ไปอาคารบ้านพัก (ชั้นล่าง) และย้ายศูนย์การเรียนอนุบาลไปห้องเนอสเซอรี่ (เดิม) และได้ติดตั้งเครื่องกรองน้ำสำหรับดื่ม พร้อมจัดสถานที่สำหรับบริการน้ำดื่มให้กับนักเรียนเพิ่มขึ้น 2 แห่ง …12 พฤษภาคม  เปิดภาคเรียนที่ 1  มีนักเรียนทั้ง 924 คน ครู 47 คน นักการ 15 คน

.ศ. 2549 ปรับปรุงพื้นห้องด้วยกระเบื้อง  และจัดระบบไฟฟ้าห้องคอมพิวเตอร์  ห้องปฏิบัติการทางภาษา.......15  พฤษภาคม  เปิดภาคเรียนที่  1  มีนักเรียนทั้งหมด  931  คน  ครู  42  คน  บุคลากรสนับสนุน  15  คน  และนักการ  15  คน  สิ้นปีการศึกษา  จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เพิ่ม  เพื่อใช้ในการเรียนการสอน  จำนวน  7  ชุด

พ. ศ.  2550 เปลี่ยนแปลงผู้บริหาร  โดยมี  นางสาวจันทร์สม  กิจบำรุง  ดำรงตำแหน่งอธิการ มีนางสาวสุวลี  รังสีสุกานนท์  เป็นผู้แทนผู้รับใบอนุญาต – ผู้จัดการ  และนางสาววานุรัตน์  แสนยากุล  เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา มีนักเรียนทั้งหมด  956  คน  มีห้องเรียน  28  ห้องเรียน  ครู  45  คน  และนักการ  12  คน  ......10  กรกฎาคม  จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่  เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน  จำนวน  20  เครื่อง

พ.ศ. 2551 เปลี่ยนแปลงผู้บริหาร โดยมี นางสาวพิกุล  กิจประยูร  มาดำรงตำแหน่งเป็นอธิการมีนางสาวสุวลี  รังสีสุกานนท์  เป็นผู้แทนผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการ  และนางสาววานุรัตน์  แสนยากุล  เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา  มีห้องเรียนทั้งหมด  28  ห้องเรียน  มีครู  45  คน  นักเรียน  931  คน  และนักการ 15  คน เปิดภาคเรียนที่ 1 ระดับอนุบาล...12  พฤษภาคม  และระดับขั้นพื้นฐาน...14  พฤษภาคม

พ.ศ. 2552 เปลี่ยนแปลงผู้บริหาร โดยมี นางสาวพิกุล  กิจประยูร  ดำรงตำแหน่งเป็นอธิการ  มีนางสาวพานี  นิลเพชร  เป็นผู้ทำการแทนผู้รับใบอนุญาต -  ผู้จัดการ  และนางสาวอุบลรัตน์  สุพล  เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา  มีห้องเรียนทั้งหมด  26  ห้องเรียน  มีครู  48  คน  นักเรียน  859  คน  และนักการ 15  คน เปิดภาคเรียนที่ 1 ระดับอนุบาล...14  พฤษภาคม  และระดับขั้นพื้นฐาน...18  พฤษภาคม   .......27  มิถุนายน  จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่  เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน  จำนวน  6  เครื่อง

วันที่  1  กันยายน  2552  มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร  โดยมีการเปลี่ยนแปลงผู้อำนวยการสถานศึกษาจาก  นางสาวอุบลรัตน์  สุพล  เป็น  นางสาวพานี  นิลเพชร  มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา

พ.ศ. 2553 เปลี่ยนแปลงผู้บริหาร โดยมี นางสาวเบญจมาศ  โสภาราษฎร  ดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการ  มีนางสาวพานี  นิลเพชร  เป็นผู้ทำการแทนผู้รับใบอนุญาต -  ผู้อำนวยการสถานศึกษา  มีห้องเรียนทั้งหมด  26  ห้องเรียน  มีครู  46  คน  นักเรียน  747  คน  และนักการ 17  คน เปิดภาคเรียนที่ 1 ระดับอนุบาล...14  พฤษภาคม  และระดับขั้นพื้นฐาน...17  พฤษภาคม  2553   .......27  มิถุนายน  จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่  เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน  จำนวน  6  เครื่อง

พ.ศ. 2554 ได้ดำเนินการซ่อมแซม ปรับปรุง และพัฒนาโรงเรียนดังนี้ 1 เมษายน 2554 ปรับปรุงและทาสีอาคารใหม่  จำนวน  3  หลัง  และปรับปรุงห้องน้ำ – ห้องสุขา  จัดซื้อคอมพิวเตอร์เพิ่ม จำนวน 5  เครื่อง   มีห้องเรียนทั้งหมด  18  ห้องเรียน  มีครู  46  คน  นักเรียน  658  คน  และนักการ 13  คน เปิดภาคเรียนที่ 1 ระดับอนุบาล  และระดับขั้นพื้นฐาน...18  พฤษภาคม  2554

 

ผู้อำนวยการโรงเรียนพระแม่มารีประจวบคีรีขันธ์ : ซิสเตอร์สุมณฑา ปั้วเฮงทรัพย์

 


You need to a flashplayer enabled browser to view this YouTube video

 

 

 

 


ร.ร.พระแม่มารีสาธุประดิษฐ์

ร.ร.พระแม่มารีสาธุประดิษฐ์

สถานที่ตั้ง : เลขที่ 2/1 ถนนสาธุประดิษฐ์ ซอย 34

แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร

โทรศัพท์ : 02-294-1477, 02-682-1090 - 2

โทรสาร : 02-284-2744

 

 

ประวัติโรงเรียนพระแม่มารีสาธุประดิษฐ์

 

พ.ศ. 2506  โรงเรียนพระแม่มารีสาธุประดิษฐ์ ก่อตั้งโดยคุณพ่อการ์โล  เดลลา  โตร์เร พระสงฆ์คณะซาเลเซียน บริหารโดยภคินีพระราชินีมาเรีย (พระแม่มารีนักบวช) ตั้งอยู่ที่ถนนสาธุประดิษฐ์  แขวงบางโพงพาง  เขตยานนาวา  กรุงเทพฯ  ในพื้นที่ 5 ไร่ 2 งาน 25 ตารางวา  ในเบื้องต้นโรงเรียนประกอบด้วยอาคารเรือนไม้ 2 ชั้น มีครู 10 คน และนักเรียน 300 คน ดำเนินการจัดการศึกษาให้กับนักเรียนอายุระหว่าง 6 – 12 ปี โดยมีซิสเตอร์ซ่อนกลิ่น  ระดมกิจ เป็นเจ้าของและผู้จัดการ

พ.ศ. 2508  มีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นจาก 537 คน ในปี 2509 เป็น 710 คน

พ.ศ. 2510  ซิสเตอร์มณี  กาญจนานุรักษ์ เป็นเจ้าของและผู้จัดการ

พ.ศ. 2511  ขยายอาคารหลังเดิมโดยเพิ่มห้องเรียนอีก 3 ห้อง จำนวน 33 คน และนักเรียน 950 คน

พ.ศ. 2517  ซิสเตอร์จันทร์เพ็ญ  กิจสวัสดิ์ เป็นเจ้าของและผู้จัดการโรงเรียนแทนซิสเตอร์มณี   กาญจนานุรักษ์

พ.ศ.  2524  มีการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ เนื่องจากจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นอาคารใหม่นี้เป็นอาคาร 3 ชั้น  มีชื่อว่าอาคาร “เดลลา  โตร์เร” เพื่อเป็นเกียรติแก่คุณพ่อการ์โล  เดลลา  โตร์เร  ผู้ก่อตั้งโรงเรียน

พ.ศ. 2525  โอนกิจการโรงเรียนให้เป็นของมิสซังโรมันคาทอลิก  กรุงเทพฯ  แต่ยังคงบริหารกิจการโดยคณะภคินีพระราชินีมาเรีย “พระแม่มารีนักบวช”  ตั้งแต่ปีการศึกษานี้โรงเรียนเปิดการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล – มัธยมศึกษาตอนต้น

พ.ศ. 2530  การก่อสร้างอาคารโยเซฟแล้วเสร็จ มีพิธีเปิดและเสกอาคาร โดยพระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย   กิจบุญชู อัครสังฆราชแห่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2530

พ.ศ. 2537  ซิสเตอร์อุดมลักษณ์   พุฒตาลศรี เป็นผู้รับใบอนุญาตแทนซิสเตอร์มณี  กาญจนานุรักษ์

พ.ศ. 2541  ทำการปรับปรุงโรงเรียนทั้งระบบ เนื่องจากความจำเป็นต่างๆ มีการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ แทนอาคารเรือนไม้ 2 ชั้น หลังเก่า อาคารหลังใหม่เป็นอาคาร 5 ชั้น ใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 1 ปี 6 เดือน

พ.ศ. 2542 – 2543 พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย   กิจบุญชู ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดและเสกอาคารหลังใหม่ซึ่งมีชื่อว่าอาคาร “หลุยส์ โซแรง อนุสรณ์” เพื่อเป็นเกียรติแก่พระสังฆราชหลุยส์ โซแรง แห่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ  อาคารหลุยส์ โซแรง ประกอบด้วยห้องเรียนจำนวน 33 ห้องเรียน ห้องประกอบและห้องปฏิบัติการต่างๆ เช่น ศูนย์คอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2552 ....... ขออนุญาตขยายชั้นเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

พ.ศ. 2551 ซิสเตอร์ปราณี    กำพุฒ เป็นผู้รับใบอนุญาตแทนซิสเตอร์อุดมลักษณ์  พุฒตาลศรี

พ.ศ. 2553  ซิสเตอร์สุนีรัตน์   มิตรเจริญถาวร เป็นผู้รับใบอนุญาตแทนซิสเตอร์ปราณี   กำพุฒ

ปัจจุบันโรงเรียนพระแม่มารีสาธุประดิษฐ์ มีนักเรียนประมาณ 1,600 คน

ปัจจุบันโรงเรียนมีบริเวณพื้นที่จำนวน 5 ไร่ 2 งาน 25 ตารางวา โรงเรียนพระแม่มารีสาธุประดิษฐ์เป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือโรงเรียนพระแม่มารี บริหารและดำเนินกิจการโดยซิสเตอร์ คณะภคินีพระราชินีมาเรีย ดำเนินกิจการด้วยค่าธรรมเนียมการเรียน ในอัตราที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดและอนุมัติ ผู้รับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคล องค์การศาสนา มิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ

ผู้อำนวยการ ร.ร.พระแม่มารีสาธุประดิษฐ์ : ซิสเตอร์ ดร.อรชร กิจทวี


ปรัชญา : ความรู้คู่คุณธรรม


คำขวัญ : คุณธรรมเด่น เน้นการศึกษา พัฒนาสังคม


คติพจน์ : รู้หน้าที่ มีจรรยา รักษาวินัย ใฝ่ศึกษา


สีประจำโรงเรียน : สีฟ้า และสีขาว

* สีฟ้า เป็นสีของท้องฟ้าซึ่งมีความกว้างใหญ่ไพศาลไร้พรมแดน แทนความหมายที่ว่าจิตตรารมณ์ของผู้ก่อตั้งโรงเรียน ได้เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกชนชั้นทุกระดับได้มีการศึกษามีความสามารถในการดำเนินชีวิตในโลกอย่างสันติ รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม รวมทั้งตัดสินปัญหาต่างๆ ด้วยสติปัญญา คุณธรรม และจริยธรรม
* สีขาว เป็นสีของความบริสุทธิ์ ความสะอาด เปรียบเสมือนพระแม่มารีอาองค์อุปถัมภ์ของโรงเรียน ซึ่งมีความหมายว่า นักเรียนของโรงเรียนพระแม่มารี จะเป็นผู้ที่มีจิตใจสะอาด บริสุทธิ์ มองโลกในแง่ดี


เพลงประจำโรงเรียน

มาร์ชพระแม่มารี : สุขในฟ้า - ขาว


สุขเหลือใจที่ได้มาเรียน
พร่ำพรากเพียรด้วยความหรรษา
พำนักในถิ่นนี้หลายเพลา
หลายปีหนักหนาศึกษาร่ำไป
รักษาชื่อ.. ระบือลือเลื่อง
นามกระเดื่อง..เกียรติก้อง..ยิ่งใหญ่
พระแม่มารีถิ่นนี้กว้างไกล
จะอยู่แห่งไหนรักใคร่บูชา
หน้าที่จรรยารักษามารยาท
ทะนงองอาจอดทนอุตสาห์
ร่ำเรียนเขียนอ่านมานะนำพา
ภูมิใจหนักหนา..ฟ้า - ขาว..ชาวเรา

 

You need to a flashplayer enabled browser to view this YouTube video