ร.ร.เซนต์กาเบรียลสันติพัฒนา

ร.ร.เซนต์กาเบรียลสันติพัฒนา

สถานที่ตั้ง : 100 ม.9  ต.น้ำร้อน

อ.วิเชียรบุรี  จ.เพชรบูรณ์ 67130

โทรศัพท์ : 056-791-797

โทรสาร : 056-791-797

 

 

 

 

ประวัติโรงเรียนเซนต์กาเบรียลสันติพัฒนา


พุทธศักราช 2510 โรงเรียนสันติพัฒนาจัดตั้งขึ้นโดยบาทหลวงวิกเตอร์ลาร์เก มิสชั่นนารี ชาวฝรั่งเศส ด้วยความเห็นชอบของ ฯพณฯ ยวง  นิตโย  ประมุขสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

ในปีการศึกษา  2512 ได้รับอนุญาตให้เปิดทำการเรียนการสอน เป็นครั้งแรก     เปิดในวันที่  19  พฤษภาคม  2512   ตั้งแต่เวลา 09.00 น. ถึง 15.00 น.   โดยมีนางนิดา   อุปยโสธร  เป็นครูใหญ่   ได้แบ่งห้องเรียนออกเป็น  5 ห้อง คือ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก.

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ข.

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ในปีการศึกษา  2514 เปิดขยายชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ในปีการศึกษา  2515 เปิดขยายชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ในปีการศึกษา  2516 เปิดขยายชั้นประถมศึกษาปีที่ 7

ในปีการศึกษา  2517 นางสาวนันทพันธ์   งามวงศ์   ดำรงตำแหน่งครูใหญ่

ในปีการศึกษา  2519 นางสาววิไล   ประสมบูรณ์   ดำรงตำแหน่งครูใหญ่

ในปีการศึกษา  2520 คณะครูและนักเรียนร่วมกันสร้างถนนเข้าโรงเรียน

ในปีการศึกษา  2521 คณะครูและนักเรียนร่วมกันบริจาคคลองพาเหรด

ในปีการศึกษา  2522 นางสาวสุวพันธ์   อมรพัฒนา   ดำรงตำแหน่งครูใหญ่

คณะครูร่วมกับชาวบ้าน  เทคอนกรีตชั้นล่างอาคารไม้ตลอดและก่อสร้างโรงอาหารชั่วคราว   และเริ่มเปิดรับนักเรียนอนุบาล 1 และอนุบาล 2  นอกนั้นเยาวชนและศิษย์เก่าได้ช่วยขนลูกลังถมถนนทางเข้าโรงเรียน

ในปีการศึกษา  2523 โรงอาหารชั่วคราวสร้างเสร็จและเปิดใช้

ในปีการศึกษา  2524 นักเรียนอาสาสมัครโรงเรียนเซนต์คาเบรียล  กรุงเทพฯ  โดยการนำของบราเดอร์ประโยชน์   สร้างอาคารเอนกประสงค์  และสร้างแทงค์เก็บน้ำฝนข้างอาคารเอนกประสงค์  จำนวน 2 แทงค์

ในปีการศึกษา  2525 นางสาวสุดาวรรณ   พานิชไพศาล          ดำรงตำแหน่งผู้จัดการและครูใหญ่   นักศึกษาอาสาสมัครจากโรงอัสสัมชัญ  พาณิชย์ กรุงเทพฯ โดยการนำของบราเดอร์อารมณ์  และมาสเตอร์ชาญชัย   อธิกิจการกุล   ช่วยพัฒนาสถานที่ และอาคารที่ชำรุด

ในปีการศึกษา  2526 โรงเรียนและผู้ปกครองนักเรียนช่วยซ่อมแซมอาคารเอนกประสงค์  และปรับปรุงเสาธงใหม่    สาธารณสุขอำเภอวิเชียรบุรี บริจาคทุนสร้างแทงค์เก็บน้ำฝนขนาดสูง  4 เมตร  เส้นผ่าศูนย์กลาง  2 เมตร

ในปีการศึกษา  2527 ผู้ปกครองกลุ่มอำเภอบึงสามพัน      ร่วมบริจาคประตูเหล็กหน้าโรงเรียน

ในปีการศึกษา  2528 ขยายอาคารเอนกประสงค์ออกด้านข้าง    บาทหลวงบุญเสริม  เนื่องพลี   ดำรงตำแหน่งผู้จัดการ   นายสุทธิพงษ์   สินบำรุง  ดำรงตำแหน่งครูใหญ่

ในปีการศึกษา   2529 นางเทวา      คำผา       ดำรงตำแหน่งครูใหญ่       สร้างอาคารอนุบาล “ยอแซฟอุปถัมภ์”       และโรงอาหารของโรงเรียน     ทำพิธีเปิดในวันที่   28   พฤศจิกายน    2529   โดย ฯพณฯบรรจง   อารีพรรค   และนายอัมพร   วงศ์พาห์   นายอำเภอวิเชียรบุรี

ในปีการศึกษา  2531 ฯพณฯบรรจง อารีพรรค  ดำรงตำแหน่งผู้รับใบอนุญาตแลผู้จัดการ

โดยมีบาทหลวงโรแบร์ด  ปีโยต์  ทำหน้าที่แทน   และนายเสรี  เซซ่ง  ดำรงตำแหน่งครูใหญ่สร้างสุขาชายและสร้างห้องอาบน้ำอนุบาล  และปรับปรุงสนามฟุตบอลใหญ่ มีนักเรียนจำนวน  489 คน

ในปีการศึกษา  2532 ปลูกสวนป่ายูคาลิปตัส  สร้างม้านั่งระเบียงอนุบาล   มีนักเรียนจำนวน   561 คน

ในปีการศึกษา  2533 สร้างแทงค์เก็บน้ำฝน  หน้าอาคารประถม  และอนุบาล  ทาสีห้องเรียนและโต๊ะเรียนประถม   มีนักเรียนจำนวน 441 คน

ในปีการศึกษา 2534 ซื้อโต๊ะทำงานห้องพักครู จำนวน 15 ตัว มีนักเรียนจำนวน 512 คน

ในปีการศึกษา  2535 ซื้อโต๊ะเก้าอี้อนุบาล   จำนวน  70  ชุด   ซ่อมแซมห้องเรียนและห้องสมุด   มีนักเรียนจำนวน  515  คน

ในปีการศึกษา  2536 เริ่มก่อสร้างสนามบาสเก็ตบอล   มีนักเรียน  582 คน

ในปีการศึกษา  2537 บาทหลวงพงษ์เกษม   สังวาลย์เพ็ชร  ดำรงตำแหน่งผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการ    สร้างสนามบาสเก็ตบอลเสร็จ   นำคอมพิวเตอร์และเครื่องถ่ายเอกสารมาใช้ในกิจการของโรงเรียนเป็นครั้งแรก   สั่งทำชั้นวางหนังสือในห้องสมุด  มีนักเรียน 688 คน

ในปีการศึกษา  2538 ก่อสร้างกำแพงคอนครีตหน้าโรงเรียน      ปูกระเบื้องห้องธุรการและห้องพักครู  ต่อเติมอาคารอนุบาลจำนวน  2 ห้อง   รับเครื่องพิมพ์ดีดจำนวน  40 เครื่องจากโรงเรียนเปรมฤดีศึกษา กรุงเทพฯ   ซื้อเครื่องถ่ายเอกสารใหม่  1 เครื่อง  และซื้อคอมพิวเตอร์ใหม่อีก 1 เครื่อง        และในวันที่ 1 กรกฎาคม  2538  นายอวยชัย   ศิลาโคตร  ดำรงตำแหน่งครูใหญ่   มีครูจำนวน  26 คน  นักเรียน  782 คน

ในปีการศึกษา  2539 บาทหลวงพงษ์เกษม  สังวาลย์เพ็ชร ผู้รับใบอนุญาต  ร่วมกับคณะกรรมการสภาอภิบาลผู้ใหญ่บ้าน     กรรมการหมู่บ้าน  ผู้ปกครองนักเรียนและกลุ่มผู้ค้าขายไก่ย่าง  ได้สมทบทุนและจัดหาทุนสร้างกำแพงโรงเรียนทางทิศตะวันออกตลอดแนว            ต่อเติมอาคารประถมอีก 4 ห้องเรียน   ก่อตั้งชมรมรถร่วมรับ-ส่งนักเรียนประมาณ  25 คัน  มีครูจำนวน  32 คน  นักเรียน  884 คน

ในปีการศึกษา  2540 บาทหลวงรังสิพล   เปลี่ยนพันธุ์  ดำรงตำแหน่งผู้ใบอนุญาตและผู้จัดการ   ได้ปรับปรุงหอพักนักเรียน   บ้านพักครู  สร้างสวนหย่อมคุณพ่อบอสโก  และหน้าห้องธุรการ ส่วนอนุบาลได้ตัดถนนวางท่อน้ำและสร้างโรงจอดรถ  ปรับปรุงใต้ถุนโบสถ์เป็นห้องประชุม  ห้องสมุดและห้องกิจกรรม   ปรับปรุงบ้านพักพระสงฆ์   ดำเนินการสร้างกำแพงทางทิศตะวันตก   และทิศใต้ตลอดแนว    มีครูจำนวน  32 คน  นักเรียน  994 คน

ในปีการศึกษา  2541 ปรับปรุงอาคารเรียน ลาร์เกนุสรณ์  โดยก่อสร้างชั้นล่างเป็นตึก   ปูกระเบื้องจำนวน  7 ห้อง  ซื้อเครื่องก๊อปปี้ปริ้นเตอร์  1 เครื่อง  ต่อโต๊ะเก้าอี้นักเรียน   จำนวน 90 ชุด  สร้างโรงเก็บอุปกรณ์  1 หลัง  ทางด้าน   ว่าจ้างครูสอนภาษาอังกฤษชาวฟิลิปปินส์ ชื่อ Miss  Maria  Florelza  Levantino  Panraleon   มีครูจำนวน  35    คน  นักเรียนจำนวน   944   คน

ในปีการศึกษา  2542 สร้างประตูทางเข้าโรงเรียน  รวมทั้งป้อมยาม  สวนหย่อมด้านหน้าโรงเรียน  ทำป้ายโรงเรียน  ป้ายปรัชญาและคำขวัญโรงเรียน  ด้านหน้าโรงเรียน  ขุดคลองด้านหน้าและทำท่อระบายน้ำใหม่   ปรับปรุงห้องธุรการ  ห้องครูใหญ่  ห้องคอมพิวเตอร์  ห้องปกครอง และห้องกิจการนักเรียนใหม่   โดยแยกให้เป็นสัดส่วน ปรับปรุงเวทีหอประชุมใหม่และสร้างตำนานป่าด้านหลังโรงเรียน   ก่อสร้างห้องน้ำชายและห้องน้ำหญิง  มีครูจำนวน   40  คน พี่เลี้ยง  3 คน   นักเรียนจำนวน   887 คน

ในปีการศึกษา  2543 มีการเปลี่ยนแปลง ผู้รับใบอนุญาตเป็น  บาทหลวงสุวนารถ   กวยมงคล  และคณะซิสเตอร์จากคณะธิดาพระราชินีมาเรียผู้นิรมล มาช่วยบริหารโรงเรียนจำนวน 3 ท่าน   ผู้จัดการและครูใหญ่เป็นซิสเตอร์สุวลี   รังษีสุกานนท์   ได้เปิดทำการสอนคอมพิวเตอร์ด้วยจำนวนคอมพิวเตอร์  20 เครื่อง  เพิ่มห้องเรียนอีก 1 ห้องคือห้องประถมศึกษาปีที่ 6/3   ในปีนี้มีครูจำนวน   40  คน    พี่เลี้ยง 3 คน     นักเรียนจำนวนทั้งสิ้น  916  คน     แบ่งเป็นระดับอนุบาล 314  คน   ระดับประถมศึกษา   602  คน      จำนวนห้องเรียนระดับอนุบาล  9 ห้อง  ห้องศูนย์การเรียนอนุบาล 1 ห้อง  จำนวนห้องเรียนระดับประถมจำนวน  18 ห้อง

ในปีการศึกษา  2544 ย้ายสุสานไปอยู่ด้านนอกกำแพงโรงเรียนทางฝั่งทิศตะวันตก     และตัดสวนป่ายูคาลิปตัสเพื่อทำแปลงเกษตรของนักเรียน    ขุดบ่อเพื่อเลี้ยงปลา  ทำเตาเผาขยะ    ทำท่อระบายน้ำทางฝั่งกำแพงด้านทิศตะวันตก     ปรับปรุงบ้านพักซิสเตอร์ครูใหญ่ , ต่อเติมโรงอาหาร  , ปูตัวหนอนแผนกอนุบาลและบริเวณสนามบาส  ,  ติดตั้งเครื่องกรองน้ำขนาดใหญ่  1  เครื่อง  ขนาดเล็ก  2  เครื่อง ,  ติดตั้งเครื่องดับเพลิง  ,  เครื่องตัดไฟ   ,  จัดซื้อโต๊ะเรียน   100   ชุด    ในปีนี้มีครูจำนวน   42  คน    พี่เลี้ยง 3 คน     นักเรียนจำนวนทั้งสิ้น  880  คน     แบ่งเป็นระดับอนุบาล  321  คน   ระดับประถมศึกษา   559  คน

ในปีการศึกษา 2545 มีการเปลี่ยนแปลง   ผู้ทำการแทนผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการ  เป็น  บาทหลวงสุรนันท์    กวยมงคล  และซิสเตอร์สุวลี  รังษีสุกานนท์ ดำรงตำแหน่ง ครูใหญ่   รับครูเพื่อทำการเรียนการสอนเพิ่มอีก 8 คน   ซื้อคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง และปรินท์เตอร์ 1 เครื่อง ซื้อโต๊ะญี่ปุ่นให้ฝ่ายอนุบาล ชั้นอนุบาล 1 จำนวน 30 ชุด   ดำเนินการสร้างเรือนพักร้อนบริเวณแปลงสาธิตเกษตร   ทำทางเดินระหว่างอาคารประถมและอาคารธุรการ เพื่อกันแดด กันฝน    ทำสวนสมุนไพร  ติดแอร์ที่อาคารธุรการ  ตกแต่งบริเวณเสาธง     ในปีนี้มีครูจำนวน    43  คน     ครูพี่เลี้ยง 3 คน      นักเรียนจำนวนทั้งสิ้น    884    คน     แบ่งเป็นระดับอนุบาล   342   คน   ระดับประถมศึกษา   542    คน

ในปีการศึกษา 2546 มีการเปลี่ยนแปลง ผู้ทำการแทนผู้รับใบอนุญาต    เป็นบาทหลวงอภิเดช สุภาจักร์ และ มีการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการ/ครูใหญ่  เป็น ซิสเตอร์ศิริรัตน์  แสนยากุล    รับครูเพื่อทำการเรียนการสอนเพิ่มอีก 2 คน   ซื้อคอมพิวเตอร์ใหม่ 2 เครื่อง  ปรับปรุงอาคารอนุบาลโดยการปูกระเบื้องห้องอนุบาลทุกห้องเรียน  ซ่อมแซมหลังคาซุ้มดอกเห็ดเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน   จัดโครงการประกวดห้องเรียนมาตรฐาน   จัดทำป้ายนิเทศภายในโรงเรียนอย่างทั่วถึง สร้างอ่างล้างหน้า แปรงฟัน เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดี ในด้านการเรียนการสอนได้จัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรสถานศึกษาที่จัดทำขึ้นใช้เอง มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานใหม่ให้เข้ากับหลักสูตรใหม่ปรับเปลี่ยนวิชาที่สอนเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข และมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น    ในปีนี้มีครูจำนวน    43  คน     ครูพี่เลี้ยง 3 คน    นักเรียนจำนวนทั้งสิ้น      900 คน     แบ่งเป็นระดับอนุบาล  314 คน   ระดับประถมศึกษา   586   คน

ในปีการศึกษา 2547   มีการประเมินและวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของปีการศึกษาที่ผ่านมา และได้จัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อใช้จัดกระบวนการเรียนการสอนในปีนี้ สร้างห้องน้ำอนุบาลใหม่ ปรับปรุงโรงอาหาร ซ่อมแซมอาคารเรียนที่ชำรุด สร้างบรรยากาศภายในโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานใหม่ให้เข้ากับสถานศึกษาในปัจจุบัน พัฒนาและส่งเสริมให้บุคลากรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้นำความรู้มาจัดกระบวนการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนเก่ง ดี มีความสุขในการเรียนมากยิ่งขึ้น ทำให้นักเรียนมีความเป็นเลิศทางด้านวิชาการในทุก ๆ ด้าน ในปีนี้มีครูทั้งหมดจำนวน  42  คน ครูบรรจุ 36   คน บุคลากรรอบรรจุ  1  คน  เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คน  ครูพี่เลี้ยง 4 คน  นักเรียนจำนวนทั้งสิ้น  881  คน    แบ่งเป็นระดับอนุบาล   307   คน     ระดับประถมศึกษา  574     คน

ในปีการศึกษา 2548 มีการนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาเพิ่มให้นักเรียนในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนได้ใช้คอมพิวเตอร์อย่างทั่วถึงกัน ได้ทำการปรับปรุงโรงอาหารโดยยกโรงอาหารให้สูงขึ้นเพื่อให้ลมถ่ายเทได้สะดวกมากยิ่งขึ้น    จัดสร้างห้องสื่อการเรียนการสอนใหม่เพื่อจัดระบบการยืมสื่อให้เกิดความสะดวกมากขึ้นกับคุณครูที่มาขอใช้ในการจัดการเรียนการสอน   ได้มีการขยายสระสวนเกษตรเพิ่มเติมเพื่อกักเก็บน้ำใช้ในงานเกษตรของโรงเรียน เช่นปลูกข้าว ปลูกผัก เลี้ยงปลา เป็นต้น ปรับปรุงถนนบริเวณโรงเรียน    โดยนำหินเกร็ดมาถมถนน เพื่อไม่ให้นำขังเวลาฝนตก  ในปีนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากมหาวิทยาลัยแสงธรรมมาออกค่ายอาสาพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมให้นักเรียนคาทอลิก และได้สร้างศาลาเอนกประสงค์ให้กับโรงเรียนเพื่อใช้ในด้านการเรียนการสอนต่อไป นอกนั้นทางโรงเรียนได้ปรับระบบการจัดห้องเรียนใหม่ เพื่อให้มีห้องเรียนว่าง ใช้เป็นห้องประกอบการอันจะนำประโยชน์มาสู่นักเรียนสูงสุดนั้นคือ จัดห้องพยาบาลมาตรฐานแทนห้องพยาบาลเก่าแยกชาย-หญิง  1 ห้อง เพิ่มห้องวิทยาศาสตร์สำหรับช่วงชั้นที่ 2 อีก 1 ห้อง และได้จัดห้องแนะแนวไว้เฉพาะ  เพื่อให้บริการปรึกษาแก่นักเรียนอย่างเป็นสัดส่วนอีก 1 ห้อง  ในปีนี้มีบุคลากรครูจำนวน 32 คน ครูรอบรรจุจำนวน  2 คน  ครูพี่เลี้ยง  4   คน นักเรียนมีจำนวนทั้งสิ้น  810 คน    แบ่งเป็นระดับอนุบาล  260คน   ระดับประถมศึกษา   550  คน

ในปีการศึกษา 2549 ทางโรงเรียนได้จัดระบบโครงสร้างการบริหารใหม่ และจัดระบบการจัดห้องเรียนใหม่ ดังนี้ ระดับอนุบาล 2:3:3  ระดับประถม 3:2:2:3:2:2 เพื่อให้เหมาะสมกับจำนวนนักเรียนในปัจจุบัน ปรับปรุงห้องประกอบการใหม่ โดยจัดให้มีห้องรองผอ.  ห้องประชุมเล็ก ห้องวัดผลประเมินผล ห้องพักครู เพื่อให้สะดวกต่อการบริหารงานในปัจจุบัน  จัดทำแสลนบริเวณเสาธง ลานสนามบาส เพื่อให้นักเรียนใช้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้เกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุด  มีการจัดทำแผนพัฒนาและแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการโรงเรียนใหม่ เนื่องจากแผนและคณะกรรมการชุดเดิมหมดวาระลง     การจัดระบบการเรียนการสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และส่งเสริมการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดกระบวนการเรียนการสอนและพัฒนาเทคนิคของบุคลากรครูในการสอนให้มีเทคนิคที่หลากหลาย  ในปีการศึกษานี้มีบุคลากรทั้งสิ้น จำนวน 33 คน  บุคลากรรอบรรจุ 22 คน   ครูพี่เลี้ยง  2   คน จำนวนนักเรียนในปัจจุบัน มีจำนวนทั้งสิ้น  799  คนแยกเป็นระดับอนุบาลจำนวน  235  คน  ระดับประถมจำนวน  564  คน

ในปีการศึกษา  2550 ได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้รับใบอนุญาตเป็น  บาทหลวงสุระพงษ์  ไม้มงคล  เปลี่ยนผู้จัดการเป็น  ซิสเตอร์อุบลรัตน์  สุพล  โดยยังคงให้ซิสเตอร์ศิริรัตน์  แสนยากุล  ดำรงตำแหน่งครูใหญ่  ทางโรงเรียนได้ปรับปรุงบริเวณโรงเรียนโดยได้นำหญ้ามาปลูกเป็นสนามหญ้า  จัดตกแต่งบริเวณด้านหน้าโรงเรียน  หน้าห้องธุรการ   และภายในแผนกอนุบาล  ได้จัดให้มีระบบอินเตอร์เนตเพื่อสืบค้นในโรงเรียน  ได้จัดเตรียมห้องสมุด  ห้องภูมิปัญญาน่ารู้และอาคารสถานที่เพื่อรองรับการเปิดรับนักเรียนในระดับมัธยมตอนต้น  ในปีการศึกษานี้มีครูจำนวน  26  คน  ครูรอบรรจุ  7  คน  ครูพี่เลี้ยง  2  คน  เจ้าหน้าที่ธุรการ  1  คน  จำนวนนักเรียนปัจจุบัน  รวมทั้งสิ้น 765  คน  แยกเป็นอนุบาล  239 คน  ประถม  526 คน

ในปีการศึกษา   2551 ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น  “โรงเรียนเซนต์กาเบรียลสันติพัฒนา” ตามใบอนุญาตที่  พช 3/10/2551 โดยใช้อักษรย่อโรงเรียน “ซก.สพ.” เปลี่ยนเครื่องแบบนักเรียนชั้น อ.1 - ป.6โดยเริ่มใช้กับนักเรียนใหม่  ส่วนนักเรียนเก่ายังคงใช้เครื่องแบบที่มีอยู่ได้จนถึงปีการศึกษา 2553 ตามใบอนุญาตที่ พช 3/4/2551   ได้เปลี่ยนแปลงตำแหน่งผู้จัดการเป็น  บาทหลวงสุระพงษ์  ไม้มงคล  และเปลี่ยนผู้อำนวยการเป็น  ซิสเตอร์ ดร.รัชนิดา   รัชนีลัดดาจิต    และในปีนี้ได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นตามใบอนุญาตที่ พช3/17/2551 อีกทั้งได้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงอาคารเรียน  รวมทั้งบริเวณสถานที่ต่างๆภายในโรงเรียน  ดังนี้ ปรับปรุงอาคารลาร์เกและอาคารยอแซฟโดยการทาสีใหม่ของตัวอาคารภายนอกทั้งหมด    เปลี่ยนหลังคาของแสลนเป็นอะลูมิเนียม   ย้ายเสาธงจากเดิมอยู่หน้าอาคารลาร์เกมาไว้หน้าอาคารยอแซฟ    ปรับสถานที่ด้านหน้าโรงเรียนเป็นที่จอดรถ และสถานที่จอดรถเดิมเริ่มก่อสร้างอาคารเรียนชื่ออาคาร ”เซนต์ไมเกิล” รวมทั้งตกแต่งสวนหย่อมด้านหน้าอาคารเรียนให้เกิดความสวยงามเพื่อเอื้อประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน มีการปรับโครงสร้างการบริหารโรงเรียนโดยแบ่งออกเป็น  4  ฝ่าย  คือ  ฝ่ายจิตตาภิบาล  ฝ่ายธุรการ  ฝ่ายวิชาการ  และฝ่ายกิจการนักเรียน   ปฏิบัติงานตามแผนงานหลัก  7  แผนงาน  คือ  แผนงานจิตตาภิบาล   แผนงานพัฒนาผู้เรียน  แผนงานการเรียนการสอน   แผนงานสนับสนุนการเรียนรู้   แผนงานการบริหารจัดการ   แผนงานปรับปรุงและพัฒนา   โดยแบ่งบุคลากรครูเข้าร่วมในงานของทุกฝ่าย   ในปีการศึกษานี้มีครูจำนวน 43  คน(ครูบรรจุ   29  คน   ครูรอบรรจุ  10  คน   ครูพี่เลี้ยง  4  คน  มีจำนวนนักเรียน  831 คน  (อนุบาล  260  คน  ประถม  517 คน  และมัธยมศึกษาปีที่  1   54  คน )

ในปีการศึกษา   2552 สร้างอาคารเรียนมัธยมและมีพิธีเปิดอาคาร “เซนต์ไมเคิ้ล”  ในวันที่  28  มีนาคม  2552   และตกแต่งสวนหย่อมหน้าอาคารเรียนมัธยม    เทถนนคอนกรีตประตูทางเข้าโรงเรียนจนถึงหน้าโรงอาหาร  ต่อเติมหลังคาระหว่างบ้านพักเด็กประจำและบ้านพักซิสเตอร์  ได้รับอนุญาตให้ใช้อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก  2  ชั้น  1  หลัง  และได้รับอนุญาตให้เพิ่มความจุนักเรียนเป็น  1,575 คน    ห้องเรียน   36  ห้อง  และเปลี่ยนแปลงผู้ทำการแทนผู้รับใบอนุญาตเป็น   บาทหลวงไพโรจน์  เกตุรัตน์  ในปีการศึกษานี้มีครูจำนวน  44  คน  (ครูบรรจุ  33  คน   ครูรอบรรจุ  8  คน   ครูพี่เลี้ยง  3  คน)   มีจำนวนนักเรียน  934  คน  (อนุบาล  264  คน   ประถม  521  คน   และมัธยมปีที่ 1-2   149  คน)

ในปีการศึกษา    2553 สร้างห้องสมุด 1 หลัง จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 40 เครื่อง ซื้อรถตู้โรงเรียนจำนวน 1 คัน ติดตั้งเครื่องเสียงโดยรอบภายในโรงเรียน  ในปีการศึกษานี้มีครูจำนวน  45  คน  มีจำนวนนักเรียน  1,021  คน  ( อนุบาล  255  คน   ประถม  557  คน   และมัธยมปีที่ 1-3   209  คน )

 

ผู้อำนวยการ ร.ร.เซนต์กาเบรียลสันติพัฒนา : ซิสเตอร์อุบลรัตน์  สุพล



You need to a flashplayer enabled browser to view this YouTube video

Normal 0 false false false EN-US X-NONE TH MicrosoftInternetExplorer4

ประวัติโรงเรียนเซนต์กาเบรียลสันติพัฒนา

พุทธศักราช 2510 โรงเรียนสันติพัฒนาจัดตั้งขึ้นโดยบาทหลวงวิกเตอร์ลาร์เก มิสชั่นนารี ชาวฝรั่งเศส ด้วยความเห็นชอบของ ฯพณฯ ยวง นิตโย ประมุขสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

ในปีการศึกษา 2512 ได้รับอนุญาตให้เปิดทำการเรียนการสอน เป็นครั้งแรก เปิดในวันที่ 19 พฤษภาคม 2512 ตั้งแต่เวลา 09.00 น. ถึง 15.00 น. โดยมีนางนิดา อุปยโสธร เป็นครูใหญ่ ได้แบ่งห้องเรียนออกเป็น 5 ห้อง คือ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก.

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ข.

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ในปีการศึกษา 2514 เปิดขยายชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ในปีการศึกษา 2515 เปิดขยายชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ในปีการศึกษา 2516 เปิดขยายชั้นประถมศึกษาปีที่ 7

ในปีการศึกษา 2517 นางสาวนันทพันธ์ งามวงศ์ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่

ในปีการศึกษา 2519 นางสาววิไล ประสมบูรณ์ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่

ในปีการศึกษา 2520 คณะครูและนักเรียนร่วมกันสร้างถนนเข้าโรงเรียน

ในปีการศึกษา 2521 คณะครูและนักเรียนร่วมกันบริจาคคลองพาเหรด

ในปีการศึกษา 2522 นางสาวสุวพันธ์ อมรพัฒนา ดำรงตำแหน่งครูใหญ่

คณะครูร่วมกับชาวบ้าน เทคอนกรีตชั้นล่างอาคารไม้ตลอดและก่อสร้างโรงอาหารชั่วคราว และเริ่มเปิดรับนักเรียนอนุบาล 1 และอนุบาล 2 นอกนั้นเยาวชนและศิษย์เก่าได้ช่วยขนลูกลังถมถนนทางเข้าโรงเรียน

ในปีการศึกษา 2523 โรงอาหารชั่วคราวสร้างเสร็จและเปิดใช้

ในปีการศึกษา 2524 นักเรียนอาสาสมัครโรงเรียนเซนต์คาเบรียล กรุงเทพฯ โดยการนำของบราเดอร์ประโยชน์ สร้างอาคารเอนกประสงค์ และสร้างแทงค์เก็บน้ำฝนข้างอาคารเอนกประสงค์ จำนวน 2 แทงค์

ในปีการศึกษา 2525 นางสาวสุดาวรรณ พานิชไพศาล ดำรงตำแหน่งผู้จัดการและครูใหญ่ นักศึกษาอาสาสมัครจากโรงอัสสัมชัญ พาณิชย์ กรุงเทพฯ โดยการนำของบราเดอร์อารมณ์ และมาสเตอร์ชาญชัย อธิกิจการกุล ช่วยพัฒนาสถานที่ และอาคารที่ชำรุด

ในปีการศึกษา 2526 โรงเรียนและผู้ปกครองนักเรียนช่วยซ่อมแซมอาคารเอนกประสงค์ และปรับปรุงเสาธงใหม่ สาธารณสุขอำเภอวิเชียรบุรี บริจาคทุนสร้างแทงค์เก็บน้ำฝนขนาดสูง 4 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เมตร

ในปีการศึกษา 2527 ผู้ปกครองกลุ่มอำเภอบึงสามพัน ร่วมบริจาคประตูเหล็กหน้าโรงเรียน

ในปีการศึกษา 2528 ขยายอาคารเอนกประสงค์ออกด้านข้าง บาทหลวงบุญเสริม เนื่องพลี ดำรงตำแหน่งผู้จัดการ นายสุทธิพงษ์ สินบำรุง ดำรงตำแหน่งครูใหญ่

ในปีการศึกษา 2529 นางเทวา คำผา ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ สร้างอาคารอนุบาล ยอแซฟอุปถัมภ์ และโรงอาหารของโรงเรียน ทำพิธีเปิดในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2529 โดย ฯพณฯบรรจง อารีพรรค และนายอัมพร วงศ์พาห์ นายอำเภอวิเชียรบุรี

ในปีการศึกษา 2531 ฯพณฯบรรจง อารีพรรค ดำรงตำแหน่งผู้รับใบอนุญาตแลผู้จัดการ

โดยมีบาทหลวงโรแบร์ด ปีโยต์ ทำหน้าที่แทน และนายเสรี เซซ่ง ดำรงตำแหน่งครูใหญ่สร้างสุขาชายและสร้างห้องอาบน้ำอนุบาล และปรับปรุงสนามฟุตบอลใหญ่ มีนักเรียนจำนวน 489 คน

ในปีการศึกษา 2532 ปลูกสวนป่ายูคาลิปตัส สร้างม้านั่งระเบียงอนุบาล มีนักเรียนจำนวน 561 คน

ในปีการศึกษา 2533 สร้างแทงค์เก็บน้ำฝน หน้าอาคารประถม และอนุบาล ทาสีห้องเรียนและโต๊ะเรียนประถม มีนักเรียนจำนวน 441 คน

ในปีการศึกษา 2534 ซื้อโต๊ะทำงานห้องพักครู จำนวน 15 ตัว มีนักเรียนจำนวน 512 คน

ในปีการศึกษา 2535 ซื้อโต๊ะเก้าอี้อนุบาล จำนวน 70 ชุด ซ่อมแซมห้องเรียนและห้องสมุด มีนักเรียนจำนวน 515 คน

ในปีการศึกษา 2536 เริ่มก่อสร้างสนามบาสเก็ตบอล มีนักเรียน 582 คน

ในปีการศึกษา 2537 บาทหลวงพงษ์เกษม สังวาลย์เพ็ชร ดำรงตำแหน่งผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการ สร้างสนามบาสเก็ตบอลเสร็จ นำคอมพิวเตอร์และเครื่องถ่ายเอกสารมาใช้ในกิจการของโรงเรียนเป็นครั้งแรก สั่งทำชั้นวางหนังสือในห้องสมุด มีนักเรียน 688 คน

ในปีการศึกษา 2538 ก่อสร้างกำแพงคอนครีตหน้าโรงเรียน ปูกระเบื้องห้องธุรการและห้องพักครู ต่อเติมอาคารอนุบาลจำนวน 2 ห้อง รับเครื่องพิมพ์ดีดจำนวน 40 เครื่องจากโรงเรียนเปรมฤดีศึกษา กรุงเทพฯ ซื้อเครื่องถ่ายเอกสารใหม่ 1 เครื่อง และซื้อคอมพิวเตอร์ใหม่อีก 1 เครื่อง และในวันที่ 1 กรกฎาคม 2538 นายอวยชัย ศิลาโคตร ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ มีครูจำนวน 26 คน นักเรียน 782 คน

ในปีการศึกษา 2539 บาทหลวงพงษ์เกษม สังวาลย์เพ็ชร ผู้รับใบอนุญาต ร่วมกับคณะกรรมการสภาอภิบาลผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน ผู้ปกครองนักเรียนและกลุ่มผู้ค้าขายไก่ย่าง ได้สมทบทุนและจัดหาทุนสร้างกำแพงโรงเรียนทางทิศตะวันออกตลอดแนว ต่อเติมอาคารประถมอีก 4 ห้องเรียน ก่อตั้งชมรมรถร่วมรับ-ส่งนักเรียนประมาณ 25 คัน มีครูจำนวน 32 คน นักเรียน 884 คน

ในปีการศึกษา 2540 บาทหลวงรังสิพล เปลี่ยนพันธุ์ ดำรงตำแหน่งผู้ใบอนุญาตและผู้จัดการ ได้ปรับปรุงหอพักนักเรียน บ้านพักครู สร้างสวนหย่อมคุณพ่อบอสโก และหน้าห้องธุรการ ส่วนอนุบาลได้ตัดถนนวางท่อน้ำและสร้างโรงจอดรถ ปรับปรุงใต้ถุนโบสถ์เป็นห้องประชุม ห้องสมุดและห้องกิจกรรม ปรับปรุงบ้านพักพระสงฆ์ ดำเนินการสร้างกำแพงทางทิศตะวันตก และทิศใต้ตลอดแนว มีครูจำนวน 32 คน นักเรียน 994 คน

ในปีการศึกษา 2541 ปรับปรุงอาคารเรียน ลาร์เกนุสรณ์ โดยก่อสร้างชั้นล่างเป็นตึก ปูกระเบื้องจำนวน 7 ห้อง ซื้อเครื่องก๊อปปี้ปริ้นเตอร์ 1 เครื่อง ต่อโต๊ะเก้าอี้นักเรียน จำนวน 90 ชุด สร้างโรงเก็บอุปกรณ์ 1 หลัง ทางด้าน ว่าจ้างครูสอนภาษาอังกฤษชาวฟิลิปปินส์ ชื่อ Miss Maria Florelza Levantino Panraleon มีครูจำนวน 35 คน นักเรียนจำนวน 944 คน

ในปีการศึกษา 2542 สร้างประตูทางเข้าโรงเรียน รวมทั้งป้อมยาม สวนหย่อมด้านหน้าโรงเรียน ทำป้ายโรงเรียน ป้ายปรัชญาและคำขวัญโรงเรียน ด้านหน้าโรงเรียน ขุดคลองด้านหน้าและทำท่อระบายน้ำใหม่ ปรับปรุงห้องธุรการ ห้องครูใหญ่ ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องปกครอง และห้องกิจการนักเรียนใหม่ โดยแยกให้เป็นสัดส่วน ปรับปรุงเวทีหอประชุมใหม่และสร้างตำนานป่าด้านหลังโรงเรียน ก่อสร้างห้องน้ำชายและห้องน้ำหญิง มีครูจำนวน 40 คน พี่เลี้ยง 3 คน นักเรียนจำนวน 887 คน

ในปีการศึกษา 2543 มีการเปลี่ยนแปลง ผู้รับใบอนุญาตเป็น บาทหลวงสุวนารถ กวยมงคล และคณะซิสเตอร์จากคณะธิดาพระราชินีมาเรียผู้นิรมล มาช่วยบริหารโรงเรียนจำนวน 3 ท่าน ผู้จัดการและครูใหญ่เป็นซิสเตอร์สุวลี รังษีสุกานนท์ ได้เปิดทำการสอนคอมพิวเตอร์ด้วยจำนวนคอมพิวเตอร์ 20 เครื่อง เพิ่มห้องเรียนอีก 1 ห้องคือห้องประถมศึกษาปีที่ 6/3 ในปีนี้มีครูจำนวน 40 คน พี่เลี้ยง 3 คน นักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 916 คน แบ่งเป็นระดับอนุบาล 314 คน ระดับประถมศึกษา 602 คน จำนวนห้องเรียนระดับอนุบาล 9 ห้อง ห้องศูนย์การเรียนอนุบาล 1 ห้อง จำนวนห้องเรียนระดับประถมจำนวน 18 ห้อง

ในปีการศึกษา 2544 ย้ายสุสานไปอยู่ด้านนอกกำแพงโรงเรียนทางฝั่งทิศตะวันตก และตัดสวนป่ายูคาลิปตัสเพื่อทำแปลงเกษตรของนักเรียน ขุดบ่อเพื่อเลี้ยงปลา ทำเตาเผาขยะ ทำท่อระบายน้ำทางฝั่งกำแพงด้านทิศตะวันตก ปรับปรุงบ้านพักซิสเตอร์ครูใหญ่ , ต่อเติมโรงอาหาร , ปูตัวหนอนแผนกอนุบาลและบริเวณสนามบาส , ติดตั้งเครื่องกรองน้ำขนาดใหญ่ 1 เครื่อง ขนาดเล็ก 2 เครื่อง , ติดตั้งเครื่องดับเพลิง , เครื่องตัดไฟ , จัดซื้อโต๊ะเรียน 100 ชุด ในปีนี้มีครูจำนวน 42 คน พี่เลี้ยง 3 คน นักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 880 คน แบ่งเป็นระดับอนุบาล 321 คน ระดับประถมศึกษา 559 คน

ในปีการศึกษา 2545 มีการเปลี่ยนแปลง ผู้ทำการแทนผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการ เป็น บาทหลวงสุรนันท์ กวยมงคล และซิสเตอร์สุวลี รังษีสุกานนท์ ดำรงตำแหน่ง ครูใหญ่ รับครูเพื่อทำการเรียนการสอนเพิ่มอีก 8 คน ซื้อคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง และปรินท์เตอร์ 1 เครื่อง ซื้อโต๊ะญี่ปุ่นให้ฝ่ายอนุบาล ชั้นอนุบาล 1 จำนวน 30 ชุด ดำเนินการสร้างเรือนพักร้อนบริเวณแปลงสาธิตเกษตร ทำทางเดินระหว่างอาคารประถมและอาคารธุรการ เพื่อกันแดด กันฝน ทำสวนสมุนไพร ติดแอร์ที่อาคารธุรการ ตกแต่งบริเวณเสาธง ในปีนี้มีครูจำนวน 43 คน ครูพี่เลี้ยง 3 คน นักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 884 คน แบ่งเป็นระดับอนุบาล 342 คน ระดับประถมศึกษา 542 คน

ในปีการศึกษา 2546 มีการเปลี่ยนแปลง ผู้ทำการแทนผู้รับใบอนุญาต เป็นบาทหลวงอภิเดช สุภาจักร์ และ มีการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการ/ครูใหญ่ เป็น ซิสเตอร์ศิริรัตน์ แสนยากุล รับครูเพื่อทำการเรียนการสอนเพิ่มอีก 2 คน ซื้อคอมพิวเตอร์ใหม่ 2 เครื่อง ปรับปรุงอาคารอนุบาลโดยการปูกระเบื้องห้องอนุบาลทุกห้องเรียน ซ่อมแซมหลังคาซุ้มดอกเห็ดเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน จัดโครงการประกวดห้องเรียนมาตรฐาน จัดทำป้ายนิเทศภายในโรงเรียนอย่างทั่วถึง สร้างอ่างล้างหน้า แปรงฟัน เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดี ในด้านการเรียนการสอนได้จัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรสถานศึกษาที่จัดทำขึ้นใช้เอง มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานใหม่ให้เข้ากับหลักสูตรใหม่ปรับเปลี่ยนวิชาที่สอนเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข และมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ในปีนี้มีครูจำนวน 43 คน ครูพี่เลี้ยง 3 คน นักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 900 คน แบ่งเป็นระดับอนุบาล 314 คน ระดับประถมศึกษา 586 คน

ในปีการศึกษา 2547 มีการประเมินและวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของปีการศึกษาที่ผ่านมา และได้จัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อใช้จัดกระบวนการเรียนการสอนในปีนี้ สร้างห้องน้ำอนุบาลใหม่ ปรับปรุงโรงอาหาร ซ่อมแซมอาคารเรียนที่ชำรุด สร้างบรรยากาศภายในโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานใหม่ให้เข้ากับสถานศึกษาในปัจจุบัน พัฒนาและส่งเสริมให้บุคลากรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้นำความรู้มาจัดกระบวนการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนเก่ง ดี มีความสุขในการเรียนมากยิ่งขึ้น ทำให้นักเรียนมีความเป็นเลิศทางด้านวิชาการในทุก ๆ ด้าน ในปีนี้มีครูทั้งหมดจำนวน 42 คน ครูบรรจุ 36 คน บุคลากรรอบรรจุ 1 คน เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คน ครูพี่เลี้ยง 4 คน นักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 881 คน แบ่งเป็นระดับอนุบาล 307 คน ระดับประถมศึกษา 574 คน

ในปีการศึกษา 2548 มีการนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาเพิ่มให้นักเรียนในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนได้ใช้คอมพิวเตอร์อย่างทั่วถึงกัน ได้ทำการปรับปรุงโรงอาหารโดยยกโรงอาหารให้สูงขึ้นเพื่อให้ลมถ่ายเทได้สะดวกมากยิ่งขึ้น จัดสร้างห้องสื่อการเรียนการสอนใหม่เพื่อจัดระบบการยืมสื่อให้เกิดความสะดวกมากขึ้นกับคุณครูที่มาขอใช้ในการจัดการเรียนการสอน ได้มีการขยายสระสวนเกษตรเพิ่มเติมเพื่อกักเก็บน้ำใช้ในงานเกษตรของโรงเรียน เช่นปลูกข้าว ปลูกผัก เลี้ยงปลา เป็นต้น ปรับปรุงถนนบริเวณโรงเรียน โดยนำหินเกร็ดมาถมถนน เพื่อไม่ให้นำขังเวลาฝนตก ในปีนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากมหาวิทยาลัยแสงธรรมมาออกค่ายอาสาพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมให้นักเรียนคาทอลิก และได้สร้างศาลาเอนกประสงค์ให้กับโรงเรียนเพื่อใช้ในด้านการเรียนการสอนต่อไป นอกนั้นทางโรงเรียนได้ปรับระบบการจัดห้องเรียนใหม่ เพื่อให้มีห้องเรียนว่าง ใช้เป็นห้องประกอบการอันจะนำประโยชน์มาสู่นักเรียนสูงสุดนั้นคือ จัดห้องพยาบาลมาตรฐานแทนห้องพยาบาลเก่าแยกชาย-หญิง 1 ห้อง เพิ่มห้องวิทยาศาสตร์สำหรับช่วงชั้นที่ 2 อีก 1 ห้อง และได้จัดห้องแนะแนวไว้เฉพาะ เพื่อให้บริการปรึกษาแก่นักเรียนอย่างเป็นสัดส่วนอีก 1 ห้อง ในปีนี้มีบุคลากรครูจำนวน 32 คน ครูรอบรรจุจำนวน 2 คน ครูพี่เลี้ยง 4 คน นักเรียนมีจำนวนทั้งสิ้น 810 คน แบ่งเป็นระดับอนุบาล 260คน ระดับประถมศึกษา 550 คน

ในปีการศึกษา 2549 ทางโรงเรียนได้จัดระบบโครงสร้างการบริหารใหม่ และจัดระบบการจัดห้องเรียนใหม่ ดังนี้ ระดับอนุบาล 2:3:3 ระดับประถม 3:2:2:3:2:2 เพื่อให้เหมาะสมกับจำนวนนักเรียนในปัจจุบัน ปรับปรุงห้องประกอบการใหม่ โดยจัดให้มีห้องรองผอ. ห้องประชุมเล็ก ห้องวัดผลประเมินผล ห้องพักครู เพื่อให้สะดวกต่อการบริหารงานในปัจจุบัน จัดทำแสลนบริเวณเสาธง ลานสนามบาส เพื่อให้นักเรียนใช้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้เกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุด มีการจัดทำแผนพัฒนาและแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการโรงเรียนใหม่ เนื่องจากแผนและคณะกรรมการชุดเดิมหมดวาระลง การจัดระบบการเรียนการสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และส่งเสริมการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดกระบวนการเรียนการสอนและพัฒนาเทคนิคของบุคลากรครูในการสอนให้มีเทคนิคที่หลากหลาย ในปีการศึกษานี้มีบุคลากรทั้งสิ้น จำนวน 33 คน บุคลากรรอบรรจุ 22 คน ครูพี่เลี้ยง 2 คน จำนวนนักเรียนในปัจจุบัน มีจำนวนทั้งสิ้น 799 คนแยกเป็นระดับอนุบาลจำนวน 235 คน ระดับประถมจำนวน 564 คน

ในปีการศึกษา 2550 ได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้รับใบอนุญาตเป็น บาทหลวงสุระพงษ์ ไม้มงคล เปลี่ยนผู้จัดการเป็น ซิสเตอร์อุบลรัตน์ สุพล โดยยังคงให้ซิสเตอร์ศิริรัตน์ แสนยากุล ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ทางโรงเรียนได้ปรับปรุงบริเวณโรงเรียนโดยได้นำหญ้ามาปลูกเป็นสนามหญ้า จัดตกแต่งบริเวณด้านหน้าโรงเรียน หน้าห้องธุรการ และภายในแผนกอนุบาล ได้จัดให้มีระบบอินเตอร์เนตเพื่อสืบค้นในโรงเรียน ได้จัดเตรียมห้องสมุด ห้องภูมิปัญญาน่ารู้และอาคารสถานที่เพื่อรองรับการเปิดรับนักเรียนในระดับมัธยมตอนต้น ในปีการศึกษานี้มีครูจำนวน 26 คน ครูรอบรรจุ 7 คน ครูพี่เลี้ยง 2 คน เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คน จำนวนนักเรียนปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น 765 คน แยกเป็นอนุบาล 239 คน ประถม 526 คน

ในปีการศึกษา 2551 ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนเซนต์กาเบรียลสันติพัฒนา ตามใบอนุญาตที่ พช 3/10/2551 โดยใช้อักษรย่อโรงเรียน ซก.สพ. เปลี่ยนเครื่องแบบนักเรียนชั้น อ.1 - ป.6โดยเริ่มใช้กับนักเรียนใหม่ ส่วนนักเรียนเก่ายังคงใช้เครื่องแบบที่มีอยู่ได้จนถึงปีการศึกษา 2553 ตามใบอนุญาตที่ พช 3/4/2551 ได้เปลี่ยนแปลงตำแหน่งผู้จัดการเป็น บาทหลวงสุระพงษ์ ไม้มงคล และเปลี่ยนผู้อำนวยการเป็น ซิสเตอร์ ดร.รัชนิดา รัชนีลัดดาจิต และในปีนี้ได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นตามใบอนุญาตที่ พช3/17/2551 อีกทั้งได้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงอาคารเรียน รวมทั้งบริเวณสถานที่ต่างๆภายในโรงเรียน ดังนี้ ปรับปรุงอาคารลาร์เกและอาคารยอแซฟโดยการทาสีใหม่ของตัวอาคารภายนอกทั้งหมด เปลี่ยนหลังคาของแสลนเป็นอะลูมิเนียม ย้ายเสาธงจากเดิมอยู่หน้าอาคารลาร์เกมาไว้หน้าอาคารยอแซฟ ปรับสถานที่ด้านหน้าโรงเรียนเป็นที่จอดรถ และสถานที่จอดรถเดิมเริ่มก่อสร้างอาคารเรียนชื่ออาคาร เซนต์ไมเกิลรวมทั้งตกแต่งสวนหย่อมด้านหน้าอาคารเรียนให้เกิดความสวยงามเพื่อเอื้อประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน มีการปรับโครงสร้างการบริหารโรงเรียนโดยแบ่งออกเป็น 4 ฝ่าย คือ ฝ่ายจิตตาภิบาล ฝ่ายธุรการ ฝ่ายวิชาการ และฝ่ายกิจการนักเรียน ปฏิบัติงานตามแผนงานหลัก 7 แผนงาน คือ แผนงานจิตตาภิบาล แผนงานพัฒนาผู้เรียน แผนงานการเรียนการสอน แผนงานสนับสนุนการเรียนรู้ แผนงานการบริหารจัดการ แผนงานปรับปรุงและพัฒนา โดยแบ่งบุคลากรครูเข้าร่วมในงานของทุกฝ่าย ในปีการศึกษานี้มีครูจำนวน 43 คน(ครูบรรจุ 29 คน ครูรอบรรจุ 10 คน ครูพี่เลี้ยง 4 คน มีจำนวนนักเรียน 831 คน (อนุบาล 260 คน ประถม 517 คน และมัธยมศึกษาปีที่ 1 54 คน )

ในปีการศึกษา 2552 สร้างอาคารเรียนมัธยมและมีพิธีเปิดอาคาร เซนต์ไมเคิ้ล ในวันที่ 28 มีนาคม 2552 และตกแต่งสวนหย่อมหน้าอาคารเรียนมัธยม เทถนนคอนกรีตประตูทางเข้าโรงเรียนจนถึงหน้าโรงอาหาร ต่อเติมหลังคาระหว่างบ้านพักเด็กประจำและบ้านพักซิสเตอร์ ได้รับอนุญาตให้ใช้อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น 1 หลัง และได้รับอนุญาตให้เพิ่มความจุนักเรียนเป็น 1,575 คน ห้องเรียน 36 ห้อง และเปลี่ยนแปลงผู้ทำการแทนผู้รับใบอนุญาตเป็น บาทหลวงไพโรจน์ เกตุรัตน์ ในปีการศึกษานี้มีครูจำนวน 44 คน (ครูบรรจุ 33 คน ครูรอบรรจุ 8 คน ครูพี่เลี้ยง 3 คน) มีจำนวนนักเรียน 934 คน (อนุบาล 264 คน ประถม 521 คน และมัธยมปีที่ 1-2 149 คน)

ในปีการศึกษา 2553 สร้างห้องสมุด 1 หลัง จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 40 เครื่อง ซื้อรถตู้โรงเรียนจำนวน 1 คัน ติดตั้งเครื่องเสียงโดยรอบภายในโรงเรียน ในปีการศึกษานี้มีครูจำนวน 45 คน มีจำนวนนักเรียน 1,021 คน ( อนุบาล 255 คน ประถม 557 คน และมัธยมปีที่ 1-3 209 คน )

ร.ร.ยอแซฟอุปถัมภ์ อู่ทอง

ร.ร.ยอแซฟอุปถัมภ์ อู่ทอง

สถานที่ตั้ง : 134 หมู่ 2 ถ.มาลัยแมน ต.อู่ทอง

อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี 72160

โทรศัพท์ : 035-551-407, 035-551-976-7

โทรสาร : 035-551-976-7

 

 

 

ประวัติของโรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ อู่ทอง


พระอัครสังฆราช  (มุขนายก) ยอแซฟ ยวง  นิตโย  ได้ริเริ่มและจัดเตรียมที่ดินแห่งนี้สำหรับจัดตั้งโรงเรียน ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ มิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ  อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯได้พิจารณาเห็นสมควรให้ดำเนินการจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็ก  และโรงเรียนเปิดสอนระดับก่อนประถมศึกษาถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  ทั้งนี้เพื่อถวายด้วยจิตสดุดีเป็นราชกุศลแด่สมเด็จพระบรมราชินีนาถ  พระนางเจ้าสิริกิต  เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ และโอกาสทศวรรษแห่งการประกาศพระวรสาร สู่ปี ค.ศ. ๒๐๐๐  จุดประสงค์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การถวายโรงเรียนแห่งนี้เป็นเกียรติแต่ท่านนักบุญยอแซฟองค์อุปถัมภ์ของคริสตชนและเป็นศาสนามของพระคุณเจ้ายวง  นิตโย

อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้มอบหมายให้ฝ่ายการศึกษาในโรงเรียนของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ  และผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนแม่พระประจักษ์  สองพี่น้อง สุพรรณบุรี  เป็นผู้ดำเนินการและประสานงานจัดตั้ง  และมอบหมายการดำเนินกิจการและบริหารโรงเรียนให้ซิสเตอร์คณะธิดาพระราชินีมาเรียผู้นิรมล โดยใช้แนวทางการบริหารงานและการประสานงานของคณะกรรมการบริหารโรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ สามพราน  ทั้งนี้เนื่องจากทางโรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ สามพราน  ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ก่อตั้งโดยพระคุณเจ้ายอแซฟ ยวง นิตโย  ได้รับข้อเสนอจากผู้ปกครองนักเรียนประจำที่อาศัยในเขตอำเภออู่ทอง  และจังหวัดสุพรรณบุรี  ให้ขยายกิจการโรงเรียนไปที่จังหวัดสุพรรณบุรี  เพื่อลูกหลานของประชาชนจังหวัดสุพรรณบุรีและใกล้เคียงจะได้ศึกษาในโรงเรียนใกล้บ้าน  และสะดวกไม่ต้องส่งลูกหลานมาเป็นนักเรียนประจำ  โอกาสที่เด็กๆ จะเรียนจะได้มีมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ในปีการศึกษา ๒๕๓๕  เริ่มดำเนินการจัดตั้งสถานรับเลี้ยงและพัฒนาเด็ก  รับเด็กตั้งแต่อายุ  ๒-๕  ปี  และในปีการศึกษา ๒๕๓๖ ดำเนินการเปิดโรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์      อู่ทอง  เป็นโรงเรียนประเภทสามัญศึกษาเปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึง มัธยมศึกษาปีที่ ๓   ในปีแรกจะรับสมัครนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ ๑-๓ และประถมศึกษาปีที่ ๑-๔ ปีต่อๆ ไปขยายชั้นเรียนปีละชั้นจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓

 

ผู้อำนวยการโรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ อู่ทอง : ซิสเตอร์อุบลรัตน์  สุพล


วิสัยทัศน์ : เรียนรู้คู่คุณธรรม       เลิศล้ำระเบียบวินัย
ก้าวไกลเทคโนโลยี      สุขภาพดีถ้วนหน้า
ไม่พึ่งพายาเสพย์ติด    ใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า

 

You need to a flashplayer enabled browser to view this YouTube video

ร.ร.บอสโกพิทักษ์ นครปฐม

 

ร.ร.บอสโกพิทักษ์  นครปฐม

สถานที่ตั้ง : 27 ม.13 ถ.เพชรเกษม กม.62

ต.โพรงมะเดื่อ อ.เมือง จ.นครปฐม 73000

โทรศัพท์ : 034-387-061, 034-377-683-4

โทรสาร : 034-377-683

 

 

ประวัติของโรงเรียนบอสโกพิทักษ์

 

โรงเรียนบอสโกพิทักษ์จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2489 โดยมีอาคารเรียนเป็นเรือนไม้สอง เปิดทำการสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 ต่อมา จึงได้สร้างอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ชั้นเดียวขึ้นอีก 1 หลัง ขนาด 8 X 24 เมตร จุนักเรียนได้ 155 คน และเริ่มเปิดทำการสอนได้ในปี 2503 ต่อมาในปี 2504 ได้เริ่มเปิดทำการสอนชั้นประถมปลายขึ้นเป็นครั้งแรกโดยเปิดชั้นประถมปีที่ 5 ก่อนแล้วขยายปีละชั้นจนถึงชั้นประถมปีที่ 7
ปีการศึกษา 2507 ได้สร้างอาคารเรียนขึ้นใหม่อีกหลังหนึ่ง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ชั้นเดียวจสร้างบ้านพักครู 1 หลัง จำนวน 4 ห้อง  โดยจัดทำชั้นล่างเป็นห้องสมุดโรงเรียน
ในปีการศึกษา 2509  คุณพ่อยังอาร์มอง  ฮาแบสโตรส์  เจ้าอาวาสวัดพระตรีเอกภาพได้ทำการซ่อมแซมอาคารเรียนทุกหลัง พร้อมกับสร้างห้องสุขาชาย-หญิง สำหรับนักเรียน และสร้างอาคารเรียนใหม่
ปีการศึกษา 2510 ได้สร้างอาคารเรียนครึ่งตึกครึ่งไม้ชั้นเดียวหลังใหม่ ใช้เป็นห้องเรียนและห้องครูใหญ่ 1 ห้อง
ปีการศึกษา 2513 ฯพณฯ ยวง นิตโย  ประมุขอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ  มีความประสงค์จะพัฒนาโรงเรียนให้เป็นสถานศึกษาที่มีมาตรฐานดีขึ้นจึงรับโอนกิจการให้อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เป็นเจ้าของ  บาทหลวงยังอาร์มอง   ฮาแบร์สโตร เป็นผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต  นายอารมณ์ พูนโภคผล  เป็นผู้จัดการ - ครูใหญ่

ในปีการศึกษา 2514  ได้ต่อเติมโรงอาหารไปทางด้านหลัง 3 หลัง  จัดเป็นห้องเตรียมอาหาร 1 ห้อง ห้องสมุด และฉายสไลด์หรือภาพยนตร์ 1 ห้อง ห้องเรียน 1 ห้อง
ปีการศึกษา 2519 สร้างสนามวอลเลย์บอล และเปลี่ยนเสาบาสเกตบอลใหม่เป็นเสาคอนกรีต
ปีการศึกษา 2526 เริ่มรับฝากเด็กก่อนวัยเรียน มีการต่อเติมอาคารไม้ขึ้นอีก 2 ห้องเรียน
ปีการศึกษา 2530 ได้ขอขยายชั้นเรียนระดับก่อนประถมศึกษา (อนุบาล 1-2) ขอเปลี่ยนแปลงอายุนักเรียนที่รับเป็น 3-16 ปี
ปีการศึกษา 2531 ขออนุญาตใช้อาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็ก 4 ชั้น  38 ห้องเรียน รับนักเรียนได้จำนวน 1,900 คน รื้อถอนอาคารเรียนเดิม 4 หลัง จัดการเรียนการสอนระดับอนุบาลหลักสูตร 3 ปี  วันที่ 22 มกราคม 2532
ปีการศึกษา 2534 ได้จัดทำสวนวรรณคดีไทยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา  มหาราชินีจัดสร้างห้องปฏิบัติการทางภาษา 1 ห้อง 50 ที่นั่ง โดยงบประมาณของชมรมศิษย์เก่า วันที่ 16 มกราคม 2535  ขยายหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นเปลี่ยนแปลงอายุการรับนักเรียน จากเดิม 3-16 ปี เป็น 3-20 ปี  ได้จัดทำเครื่องเล่นสำหรับนักเรียนอนุบาล และอุปกรณ์บริหารร่างกายในบริเวณสวนสุขภาพ
ปีการศึกษา 2535  เริ่มเปิดทำการสอนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 45 คน ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 10 เครื่อง เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2536 ติดตั้งเครื่องกรองน้ำสำหรับนักเรียน เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2536
ปีการศึกษา 2536 เริ่มเปิดสอนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ปีการศึกษา 2537 เปิดสอนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ปีการศึกษา 2538 ได้รับคัดเลือกจากจังหวัดนครปฐม เป็นโรงเรียนรับรางวัลชนะเลิศประเภทสถานศึกษาที่จัดกิจกรรมจริยศึกษาดีเด่น
ปีการศึกษา 2540 ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็ก 5 ชั้น  สร้างห้องคอมพิวเตอร์ขนาด 50 เครื่อง ห้องโสต-ทัศนศึกษาใหม่พร้อมทั้งห้องสมุด
ปีการศึกษา 2542-2546 กระทรวงศึกษาธิการประกาศให้โรงเรียนบอสโกพิทักษ์เป็นโรงเรียนสีขาวเฉลิมพระเกียรติ ปลอดยาเสพติด”
ปีการศึกษา 2543 โรงเรียนได้ปรับพื้นที่ส่วนหนึ่งด้านหลังอาคารริชาร์ดอนุสรณ์ เพื่อดำเนินการตาม “โครงการเกษตรครบวงจร” จัดซื้อวัสดุ-ครุภัณฑ์ สื่ออุปกรณ์ต่างๆ อาทิเช่น อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ อุปกรณ์กีฬา เครื่องดนตรีไทย เครื่องดนตรีวงโยธวาฑิต ติดตั้งเครื่องกรองน้ำ เครื่องคอมพิวเตอร์สำนักงาน
โรงเรียนบอสโกพิทักษ์ยึดปรัชญา“มีคุณธรรม มีประสิทธิภาพ” (CHARITY ABILITY) เป็นแนวทางในการจัดการและบริหารงานของโรงเรียนส่วนด้านการเรียนการสอน โรงเรียนใช้หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533 และได้นำหลักสูตรมาวิเคราะห์เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพของโรงเรียน นักเรียนและชุมชน เน้นการพัฒนาคุณภาพบุคลากรครูและนักเรียนโดยพัฒนาครูให้มีความรู้ ความสามารถ และจริยธรรม เพื่อครูจะสามารถอบรมสั่งสอนนักเรียนให้รู้จักพัฒนาตนเอง เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ มีความประพฤติดี มีวินัย รับผิดชอบต่อตนเอง และสังคม สร้างความเจริญรุ่งเรื่องให้กับสังคมและประเทศชาติสืบไป
โรงเรียนบอสโกพิทักษ์มีบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ ผู้บริหารและครูจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียนมีความเป็นเลิศในด้านวิชาการ เป็นคนที่สมบูรณ์มีความสมดุลย์ทั้งด้านจิตใจ ร่างกาย สังคม และสติปัญญา มุ่งให้ผู้เรียนสามารถอยู่ในสังคมยุคข่าวสารข้อมูลอย่างเป็นสุข ดำรงความเป็นไทย มีคุณธรรม จริยธรรม ดำเนินชีวิตตามวิถีทางประชาธิปไตย รักษ์สิ่งแวดล้อมและมีทักษะในการใช้เครื่องมือสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชน

 

 

ผู้อำนวยการโรงเรียนบอสโกพิทักษ์ : ซิสเตอร์สุนีรัตน์  มิตรเจริญถาวร


ปรัชญาโรงเรียน : CHARITY ABILITY  :  มีคุณธรรม มีประสิทธิภาพ

คติพจน์ : ศึกษาดี มีจรรยา รู้หน้าที่

อัตลักษณ์ของโรงเรียน : รักและรับใช้  มีสุขภาพดี  ชีวิตมีเป้าหมาย


ตราประจำโรงเรียน

 

สีประจำโรงเรียน


สีขาว - เขียว


ขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ ทั้งทางกาย วาจา ใจ


เขียว หมายถึง ความเจริญงอกงาม ความร่มเย็นเป็นสุข


ต้นไม้ประจำโรงเรียน ต้นจามจุรี


: หมายถึง ต้นไม้ที่บ่งบอกถึงความเจริญงอกงาม ความร่มเย็น